วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

บทที่ 1




กำเนิดของปิโตรเลียม





      เมื่อหลายล้านปี ทะเละเต็มไปด้วยสัตว์ และพืชเล็ก ๆ จำพวกจุลินทรีย์ เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลงจำนวนมหาศาล ก็จะตกลงสู่ก้นทะเล และถูกทับถมด้วยโคลน และทราย



 แม่น้ำ จะพัดพากรวดทราย และโคลนสู่ทะเล ปีละหลายแสนตัน ซึ่งกรวด ทราย และโคลน จะทับถมสัตว์ และพืชสลับทับซ้อนกัน เป็นชั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา นับเป็นล้านปี

      แม่น้ำ จะพัดพากรวดทราย และโคลนสู่ทะเล ปีละหลายแสนตัน ซึ่งกรวด ทราย และโคลน จะทับถมสัตว์ และพืชสลับทับซ้อนกัน เป็นชั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา นับเป็นล้านปี


     
                ปิโตรเลียม หมายถึง น้ำมันที่ได้จากหิน หรือน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ
                ปิโตรเลียม เกิดจากสิ่งมีชีวิตทั้งซากพืช และซากสัตว์ถูกทับถมเป็นเวลาหลายล้านปี และเปลี่ยนสภาพเป็นหยดน้ำมัน และแก๊สปิโตรเลียม โดยมีธาตุไฮโดรเยนและธาตุคาร์บอนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ
การสะสมของปิโตรเลียม
                เกิดอยู่ใต้พื้นผิวโลกในชั้นหินที่มีรูพรุน เช่น ชั้นหินทราย และชั้นหินปูนที่ถูกบีบอัดจากน้ำหนักชั้นหินชนิดต่าง ๆ หลายชั้น มันจะพยายามแทรกตัวออกมาตามรอยแตกของชั้นหิน แต่ก็ถูกปิดกั้นด้วยหินที่เนื้อแน่น
               สรุปองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้เกิดปิโตรเลียมมี 3 ประการคือ มีหินเป็นต้นกำเนิดปิโตรเลียม มีหินกักเก็บปิโตรเลียม และมีชั้นหินเป็นแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม                ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่สำรวจพบในชั้นหินที่มีโครงสร้างเป็นรูปต่าง ๆ ดังนี้
               โครงสร้างรูปประทุนคว่ำ เกิดจากการหักงอของชั้นหิน ทำให้มีรูปร่างโค้งคล้ายกระทะคว่ำ น้ำมันและแก๊สธรรมชาติจะรวมตัวกันที่ส่วนโค้งก้นกะทะ โดยมีชั้นหินเนื้อแน่นปิดทับอยู่

             โครงสร้างรูประดับชั้น    เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโลก ชั้นหินกักเก็บน้ำมันจะถูกล้อมเป็นกะเปาะอยู่ระหว่างชั้นหินเนื้อแน่น

             โครงสร้างรูปโดม เกิดจากการดันตัวของชั้นเกลือ    ผ่านชั้นหินกักเก็บน้ำมัน น้ำมันและแก๊สจะอยู่ด้านข้างของรูปโดมชั้นเกลือ

              โครงสร้างรูปรอยเลื่อน เกิดจากการหักงอของชั้นหิน    ทำให้ชั้นหินเคลื่อนไปคนละแนว การที่น้ำมันและแก๊สถูกเก็บอยู่ได้ เพราะชั้นหินเนื้อแน่นปิดชั้นหินที่มีรูพรุน

แหล่งปิโตรเลียมที่สำคัญของโลก

               ค้นพบได้ประมาณ 30,000 แห่ง ทั้งบนพื้นดินและชายฝั่งทะเล แหล่งปิโตรเลียมที่ใหญ่และสำคัญของโลก ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศแถบตะวันออกกลาง ได้แก่ ซาอุดิอารเบีย อิรัก อิหร่าน และคูเวต กลุ่มประเทศแอฟริกา ได้แก่ แอลจีเรีย ลิเบีย กาบอนและในจีเรีย กลุ่มประเทศคาริเบียน ได้แก่ เวเนซูเอล่า โคลัมเบีย เม็กซิโก และทรินิแดด ส่วนแหล่งปิโตรเลียมใหม่ ๆ ที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ ปิโตรเลียมในทะเลเหนือในทวีปยุโรป และแหล่งปิโตรเลียมในประเทศออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

คุณสมบัติของปิโตรเลียม
               ปิโตรเลียม หรือน้ำมันดิบ และแก๊สธรรมชาติ จะต่างกันตามองค์ประกอบไฮโดรคาร์บอนที่รวมกัน และขึ้นอยู่กับชนิดอินทรีย์สาร น้ำมันดิบจะมีสีดำหรือน้ำตาล กลิ่นคล้ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป หรือกลิ่นแก๊สไข่เน่า ความหนืดของน้ำมันดิบจะเป็นของเหลวเหนือน้ำจนหนืดคล้าย ยางมะตอย และมีความหน่วงจำเพาะที่น้อยกว่าน้ำ ดังนั้นน้ำมันดิบจะลอยอยู่เหนือน้ำ สำหรับแก๊สธรรมชาติแห้งจะไม่มีสีและกลิ่น ส่วนแก๊สธรรมชาติเหลวจะมีลักษณะคล้ายน้ำมันเบนซิน

กระบวนการสำรวจปิโตรเลียม
               การสำรวจทางธรณีวิทยา   เป็นการสำรวจว่ามีหินต้นกำเนิด หินกักเก็บ และมีแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมที่ไหนบ้าง การสำรวจโดยอาศัยภาพถ่ายทางอากาศ บริเวณใดมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่น่าสนใจก็จะทำการสำรวจ ตรวจดูหินที่โผล่พ้นพื้นผิวดิน ตามหน้าผา หุบเขา ริมน้ำลำธาร โดยเก็บตัวอย่างตรวจดูชนิดหิน ลักษณะหิน ซากพืชและสัตว์ที่อยู่ในหิน เพื่อจะทราบอายุ วัดแนวทิศทางและความเอียงเทของชั้นหิน ทำให้คาดคะเนว่าบริเวณใดเป็นแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม

              การสำรวจธรณีฟิสิกส์   โดยวัดคลื่นความสั่นสะเทือนจากการจุดระเบิด คลื่นสั่นจะเคลื่อนที่ลงไปกระทบชั้นหินใต้ท้องทะเลและใต้ดิน แล้วคลื่นจะสะท้อนกลับขึ้นมาเข้าเครื่องรับจะบันทึกเวลาของคลื่นสั่นสะเทือนที่สะท้อนขึ้นมาจากชั้นหิน ณ ที่ต่าง ๆ กัน เวลาที่ได้นำมาคำนวณหาความหนาชั้นหิน นำมาเขียนเป็นแผนที่ และรูปร่างลักษณะโครงสร้างหินได้
             วิธีวัดค่าสนามแม่เหล็ก   ทำให้ทราบถึงลักษณะโครงสร้างบนหินรากฐาน โดยเครื่องมือวัดค่าสนามแม่เหล็กที่เป็นประโยชน์ในการสำรวจหาปิโตรเลียม
             วิธีวัดค่าแรงดึงดูดของโลก   โดยถือว่าหินต่างชนิดจะมีความหนาต่างกัน หินที่หนามาก และมีลักษณะโค้งขึ้นเป็นรูปประทุนคว่ำ ค่าสนามดึงดูดของโลกจะอยู่จุดเหนือแกนประทุนมากกว่าบริเวณอื่น ที่ใช้หาลักษณะโครงสร้างของชั้นหินได้ ข้อมูลที่ได้นำมาเขียนบนแผนที่แสดงตำแหน่งและรูปร่างลักษณะโครงสร้าง และเลือกโครง-สร้างที่เหมาะสมที่สุดในการเจาะสำรวจ

             การเจาะสำรวจ   เครื่องมือที่ใช้จะเป็นสว่านหมุนติดตั้งขนฐานเจาะ ลักษณะจะต่างกันตามภูมิประเทศ โดยเครื่องยนต์จะขับเคลื่อนแท่นหมุนพาหัวเจาะหมุนกัดบดชั้นหินลงไป ขณะเจาะมีเครื่องวัดแก๊สที่วัดปริมาณแก๊สที่อาจขึ้นมากับน้ำ การเจาะสำรวจนั้นมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการเจาะสุ่ม และการเจาะสำรวจหาขอบเขต

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และการใช้ประโยชน์
            ประเภทวัตถุดิบ   เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น จารบี และเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ส่วนแก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงได้โดยตรง
            แก๊สปิโตรเลียมเหลว   เรียกทั่วไปว่า แอล พี จี เป็นผลิตภัณฑ์ชั้นบนสุดในกระบวนการกลั่นน้ำมัน แก๊สเหลวมีจุดเดือดต่ำมาก การเก็บรักษาต้องเพิ่มความดันหรืออุณหภูมิ เพื่อให้ปิโตรเลียมเปลี่ยนจากแก๊สเป็นของเหลว แก๊สปิโตรเลียมจะเป็นเชื้อเพลิงได้ดี ไม่มีสีและกลิ่น แต่ผู้ผลิตเติมกลิ่นลงไปทำให้สังเกตได้ง่ายเมื่อแก๊สรั่ว ประโยชน์แก๊สปิโตรเลียมเหลวคือ ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้ม เครื่องยนต์และรถยนต์
           น้ำมันเชื้อเพลิงเบนซิน   หรือเรียกทั่วไปว่าน้ำมันเบนซิน ที่ได้จาการปรุงแต่งคุณภาพเพื่อให้เหมาะกับงาน เช่น สารเคมีป้องกันสนิม และการกัดกร่อน น้ำมันเบนซิน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดพิเศษค่าออกเทนสูง มีลักษณะเป็นสีแดง และน้ำมันเบนซินธรรมดา มีลักษณะเป็นสีส้ม
           น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินใบพัด   มีคุณสมบัติคล้ายน้ำมันเบนซิน แต่มีค่าออกเทนสูงขึ้นให้เหมาะกับเครื่องบินที่ใช้กำลังดันขับดันมาก
           น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่น   คุณสมบัติของน้ำมันจะมีลักษณะการระเหยตัวต่ำ น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในทางการทหาร เป็นเชื้อเพลิงผสมระหว่างน้ำมันก๊าดกับแน็พธา
           น้ำมันก๊าด   สมัยก่อนใช้น้ำมันก๊าดจุดตะเกียง และปัจจุบันใช้เป็นส่วนผสมยาฆ่าแมลง สีทาน้ำมันชักเงา การบ่มในยาสูบ และอบพืชผลด้วย
           น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล   ปัจจุบันได้พัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น รถบรรทุก รถโดยสาร หัวจักรรถไฟ และเรือประมง
           น้ำมันเตา   เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาหม้อน้ำ และเตาเผาหรือเตาหลอม น้ำมันเตาในประเทศไทยมี 3 ประเภท คือ น้ำมันเตาอย่างเบา มีความหนืดต่ำ น้ำมันเตาอย่างกลาง มีความหนืด ปานกลาง และน้ำหนักเตาอย่างหนัก มีความหนืดสูง
           ยางมะตอย   เป็นส่วนที่หนักที่สุด มีความเฉื่อยต่อสารเคมี และไอควัน ต้านทานสภาพอากาศ ความยืดหยุ่นตัวต่ออุณหภูมิระดับต่าง ๆ ได้ ประโยชน์นำไปใช้ลาดถนน ทางวิ่งเครื่องบินและลานจอดรถ

พลังงานทดแทน
          หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถแบ่งตามแหล่งที่ได้มาเป็น 2 ประเภท คือ พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป อาจเรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น และพลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะศักยภาพ และสถานภาพการใช้ประโยชน์ของพลังงานทดแทน การศึกษาและพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นการศึกษา ค้นคว้า ทดสอบ พัฒนา และสาธิต ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล และอื่นๆ เพื่อให้มีการผลิต และการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมทั้งทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม

พลังงานแสงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์ให้พลังงานจำนวนมหาศาลแก่โลกของเรา พลังงานจากดวงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฏิกิริยาใดๆอันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็คทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง ส่วนใหญ่เซลล์แสงอาทิตย์ทำมาจากสารกึ่งตัวนำพวกซิลิคอน มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึง 22 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ในเกณฑ์สูง พลังงานโดยเฉลี่ยซึ่งรับได้ทั่วประเทศประมาณ 4 ถึง 4.5 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน ประกอบด้วยพลังงานจากรังสีตรง (Direct Radiation) ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นพลังงานรังสีกระจาย (Diffused Radiation) ซึ่งเกิดจากละอองน้ำในบรรยากาศ (เมฆ) ซึ่งมีปริมาณสูงกว่าบริเวณที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไปทั้งแนวเหนือ ใต้

พลังงานลม

         เป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ 2 ที่ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ใช้แล้วไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลก ได้รับความสนใจนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกัน กังหันลมก็เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่สามารถนำพลังงานลมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ โดยเฉพาะในการผลิตกระแสไฟฟ้า และในการสูบน้ำ ซึ่งได้ใช้งานกันมาแล้วอย่างแพร่หลายพลังงานลมเกิดจากพลังงานจากดวงอาทิตย์ตกกระทบโลกทำให้อากาศร้อน และลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากบริเวณอื่นซึ่งเย็นและหนาแน่นมากกว่าจึงเข้ามาแทนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดลม และมีอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศในบางพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวฝั่งทะเลอันดามันและด้านทะเลจีน(อ่าวไทย) มีพลังงานลมที่อาจนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะพลังงานกล (กังหันสูบน้ำกังหันผลิตไฟฟ้า) ศักยภาพของพลังงานลมที่สามารถ นำมาใช้ประโยชน์ได้สำหรับประเทศไทย มีความเร็ว อยู่ระหว่าง 3 - 5 เมตรต่อวินาที และความเข้มพลังงานลมที่ประเมินไว้ได้อยู่ระหว่าง 20 - 50 วัตต์ต่อตารางเมตร

พลังงานชีวมวล

         เชื้อเพลิงที่มาจากชีวะ หรือสิ่งมีชีวิตเช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย เศษไม้ เศษหญ้า เศษเหลือทิ้งจากการเกษตร เหล่านี้ใช้เผาให้ความร้อนได้ และความร้อนนี้แหละที่เอาไปปั่นไฟ นอกจากนี้ยังรวมถึงมูลสัตว์และของเสียจากโรงงานแปรรูปทางการเกษตร เช่น เปลือกสับปะรดจากโรงงานสับปะรดกระป๋อง หรือน้ำเสียจากโรงงานแป้งมัน ที่เอามาหมักและผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ โดยเหตุที่ประเทศไทยทำการเกษตรอย่างกว้างขวาง วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ชานอ้อย กากมะพร้าว ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก (เทียบได้น้ำมันดิบปีละไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านลิตร) ก็ควรจะใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ได้ ในกรณีของโรงเลื่อย โรงสี โรงน้ำตาลขนาดใหญ่ อาจจะยินยอมให้จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าต่างๆในประเทศ ในลักษณะของการผลิตร่วม (Co-generation) ซึ่งมีใช้อยู่แล้วหลายแห่งในต่างประเทศโดยวิธีดังกล่าวแล้วจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานในประเทศสำหรับส่วนรวมได้มากยิ่งขึ้นทั้งนี้อาจจะรวมถึงการใช้ไม้ฟืนจากโครงการปลูกไม้โตเร็วในพื้นที่นับล้านไร่ สำหรับผลิตผลจากชีวมวลในลักษณะอื่นที่ยังใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เช่น แอลกอฮอล์ จากมันสำปะหลัง ก๊าซจากฟืน(Gasifier) ก๊าซจากการหมักเศษวัสดุเหลือจากการเกษตร(Bio Gas) ขยะ ฯ หากมีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ก็อาจนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าได้เช่นกัน ข้อเสียของพลังงานชีวมวล แม้จะใช้เยอะแต่ได้พลังงานนิดเดียว ถ้าจะเอาไม้มาเป็นเชื้อเพลิงปั่นไฟ ก็ต้องใช้ป่าเป็นบริเวณหลายหมื่นหลายแสนไร่ จึงไม่เหมาะกับการผลิตไฟฟ้าเยอะๆ แต่เหมาะกับการใช้ในครัวเรือนและในชนบทห่างไกลมากกว่า

พลังงานก๊าซชีวภาพ

         ก๊าซชีวภาพ เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไร้ออกซิเจน (anaerobic process) โดยที่ก๊าซชีวภาพจะมีก๊าซมีเทน (CH4) เป็นองค์ประกอบหลักอยู่ประมาณ 5080 % นอกนั้นเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และมีก๊าซ H2S, N2, H2 อีกเล็กน้อย ดังนั้นจึงสามารถ นำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนได้ ปัจจุบันสารอินทรีย์ที่นิยมนำมาผ่านกระบวนการนี้แล้วให้ก๊าซชีวภาพ คือ น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานเบียร์ โรงงานผลไม้กระป๋อง เป็นต้น รวมทั้งน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ จากกระบวนการดังกล่าวมีค่า COD ลดลงมากกว่า 80 % และได้ก๊าซชีวภาพ 0.30.5 ลบ.ม./กิโลกรัม COD ที่ถูกกำจัด ทั้งนี้ขึ้นกับคุณลักษณะของน้ำเสียแต่ละประเภท ก๊าซมีเทนมีค่าความร้อน 39.4 เมกะจูล/ลบ.ม. สามารถใช้ทดแทนน้ำมันเตาได้ 0.67 ลิตร ซึ่งเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้า 9.7 kWh

พลังงานความร้อนใต้พิภพ

ทราบหรือไม่ว่าโลกของเราไม่ได้มีอุณหภูมิเท่ากันทั้งหมด ภายในของโลกมีอุณหภูมิสูงกว่าที่ผิวโลกที่เราอาศัยอยู่มากๆ (มีอุณหภูมิประมาณ 5000 เคลวิน) เราเรียกความร้อนที่อยู่ในโลกว่า พลังงานความร้อนใต้พิภพ ใต้โลกที่ไม่ไกลจากผิวโลก (650-2700 กิโลเมตร) มีหินหนืดร้อน (magma) อยู่ ถ้าบริเวณใดมีหินหนืดร้อนอยู่ตื้น, อยู่ใกล้แหล่งภูเขาไฟปัจจุบัน หรือได้รับอิทธิพลเคลื่อนตัวของเปลือกโลก (tectonic) 

ความร้อนภายในโลกจะถูกนำพาและถ่ายเทขึ้นมาสู่ผิวโลกได้มากกว่าปกติเป็นผลให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ บนผิวโลก เช่น น้ำพุร้อน น้ำพุร้อนไกเซอร์ บ่อโคลนเดือด บ่อไอเดือด เป็นต้น เราสามารถนำความร้อนดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เป็นพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม และใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรม ตลอดจนการท่องเที่ยว



การใช้ประโยชน์พลังงานนิวเคลียร์
1.  อุตสาหกรรมด้านพลังงาน

-  อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตเรือสินค้า เรือเดินสมุทร เรือตัดน้ำแข็ง เรือดำน้ำที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์
               -  อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
2.  อุตสาหกรรมการฉายรังสี

การใช้รังสีพลังงานสูงมาฉายรังสีวัสดุ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ทางชีววิทยา และทางกายภาพ เพื่อประโยชน์ในด้านการปรับปรุงคุณภาพของวัสดุ